ระบบเติมหมึกอัตโนมัติ Auto refill
การพิมพ์ของเครื่องอิ้งค์เจ็ต มีอยู่ 2 วิธี ดังนี้
การพิมพ์ของเครื่องอิ้งค์เจ็ต มีอยู่ 2 วิธี ดังนี้
1. Thermal Electric (ความร้อน) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นน้ำหมึกที่หัวพิมพ์ให้เกิดความร้อนและฉีดออกมา ใช้ในยี่ห้อ HP , CANON , LEXMARK
2. Piezo Electric (แรงดันไฟฟ้า) เป็นการใช้ไฟฟ้าไปกระตุ้นให้แท่ง Piezo Crystal สั่นและดันเอาน้ำหมึกออกมา ใช้ในยี่ห้อ EPSON
การทำงานของระบบ
การ ทำงานของระบบ tank จะประกอบด้วย 2 ห้อง คือห้องเล็กและห้องใหญ่ โดยที่แรงดันในสายยางและห้องใหญ่ จะคงที่ตลอดเท่ากับห้องเล็กซึ่งอากาศจากภายนอกจะดันเข้ามาแทนที่ เมื่อมีการใช้หมึก หมึกจากห้องหมึกใหญ่จะค่อยๆ ลดลงโดยที่ความดันยังคงที่ ดังนั้นการใช้งานปกติหมึกที่อยู่ในห้องเล็กจะสูงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังรูป
การ ทำงานของระบบ tank จะประกอบด้วย 2 ห้อง คือห้องเล็กและห้องใหญ่ โดยที่แรงดันในสายยางและห้องใหญ่ จะคงที่ตลอดเท่ากับห้องเล็กซึ่งอากาศจากภายนอกจะดันเข้ามาแทนที่ เมื่อมีการใช้หมึก หมึกจากห้องหมึกใหญ่จะค่อยๆ ลดลงโดยที่ความดันยังคงที่ ดังนั้นการใช้งานปกติหมึกที่อยู่ในห้องเล็กจะสูงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังรูป
จุกยางจะมี 2 จุก คือจุกเล็กและ จุกใหญ่ โดยการใช้งาน ภาวะปกติให้ปิดจุกใหญ่ไว้ส่วนด้าน จุกเล็กให้เปิดออกและใส่ชุดกรองอากาศไว้
เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องพิมพ์และชุดแทงค์
- ต้องถอดชุดกรองอากาศออกก่อนและปิดจุกยางเล็ก และปิดจุกยางใหญ่ทุกครั้ง
- เก็บ สายยางให้เรียบร้อยโดยให้มีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด หรือพับสายยางและหนีบด้วยคลิปหนีบ หรือเทปใสเล็กรัดสายยางไว้ เนื่องจากแรงดันในสายยางจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย
- ชุดแท้งค์ให้อยู่ในระนาบเดียวกับเครื่องพิมพ์หรือวางบนถาดรองรับกระดาษด้านหน้า (ถ้ามี)
- ห้ามวางชุดแท้งค์บนเครื่องพิมพ์
เมื่อต้องการเติมหมึก
- ควร ที่จะต้องพับสายยางและใช้คลิปหนีบกระดาษ หรือเทปใสเล็กรัดสายยางไว้ เพราะว่าถ้าไม่พับสายยาง อาจทำให้แรงดันสูงขึ้น ขณะเติมหมึกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเครื่องพิมพ์
- ถอดชุดกรองอากาศออก ปิดจุกเล็กไว้ก่อน แล้วค่อยเปิดที่จุกใหญ่
- เติมหมึกให้ได้ตามปริมาณที่ต้องการ ปิดจุกใหญ่แล้วค่อยเปิดจุกเล็ก
ตัวอย่างของแท้งค์ที่มีแรงดันเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นอันตรายต่อเครื่องพิมพ์
ดูรูปประกอบซึ่งอาจมีสาเหตุที่เป็นไปได้ดังนี้
- วางชุดแท้งค์สูงกว่าเครื่องพิมพ์
- เปิดจุกเล็กและจุกใหญ่พร้อมกัน
การแก้ไขแท้งค์ที่มีแรงดันเปลี่ยนไป
- ควร ที่จะต้องพับสายยางและใช้คลิปหนีบกระดาษ หรือเทปใสเล็กรัดสายยางไว้ เพราะว่าถ้าไม่พับสายยาง อาจทำให้แรงดันสูงขึ้น ขณะเติมหมึกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเครื่องพิมพ์
- ถอดชุดกรองอากาศออก ปิดจุกเล็กและ ปิดจุกใหญ่
- เอียงถังหมึก ดังรูปสังเกตเห็นว่าหมึกพิมพ์จะไหลจากห้องเล็กสู่ห้องใหญ่ ดังรูป
- เอียงถังหมึกตั้งตรงตามปกติ
สาเหตุที่ทำให้หัวพิมพ์เสื่อม หรือเสีย
- เครื่องพิมพ์ไม่ได้ถูกใช้งานเป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ หมึกจะเริมแห้งและทำให้หัวพิมพ์อุดตัน
2. น้ำหมึกในตลับเริ่มหมด แล้วยังใช้พิมพ์งานต่อไปอีก ฉะนั้นหัวพิมพ์จะขาดน้ำหมึกหล่อเลี้ยง และไม่สามารถระบายความร้อนที่หัวพิมพ์ออกไปได้ จึงเป็นผลทำให้หัวพิมพ์เสียหายอย่างถาวร
3. หัวพิมพ์หมดสภาพหรืออายุการใช้งาน
4. นำตลับหมึกมาเติมหมึกและนำกลับมาใช้งานบ่อยครั้งเกินไป หรือการดูแล และคุณภาพของน้ำหมึกที่ใช้เติมไม่ดี
เทคนิคป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหา - หาก เครื่องพิมพ์ไม่ค่อยได้ใช้งาน ควรเปิดเครื่องพิมพ์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งและทดลองพิมพ์ เพื่อให้ระบบของเครื่องทำความสะอาดหัวพิมพ์ หากงานพิมพ์ปรากฎสีใดสีหนึ่งขาดหายไป ควรทำการเติมหมึกหรือ สั่งล้างหัวพิมพ์จากเครื่องไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์รุ่นนั้นๆ และให้ทดลองพิมพ์งานต่อไป ถ้ายังมีสีที่ขาดหายไปควรส่งให้ช่างที่ชำนาญตรวจสอบต่อไป (สำหรับตลับที่มีหัวพ่นและหมึกอยู่ตลับเดียวกันให้นำตลับหมึกจุ่มในน้ำร้อนประมาณ 80 องศา ประมาณ 10 นาทีแล้วนำกระดาษทิชชูมาซับเพื่อดูว่าน้ำหมึกออกเป็นปกติหรือยังถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าตลับพิมพ์นี้อาจเสียหายถาวรไม่ควรนำตลับที่เสื่อมหรือเสียนี้มาเติมหมึก )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น