วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เติมหมึกให้อิงก์เจ็ต ใครว่ายาก? ตอนที่ 4 วิธีแก้ปัญหาที่เกิดจากการเติมหมึก

กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ที่เคยเติมหมึกมาแล้ว มักจะประสบกับปัญหาต่างๆ เช่น น้ำหมึกไม่ออก หรือเติมหมึกแล้วสีที่พิมพ์ออกมาผิดเพี้ยน เป็นต้น
ส่วนใหญ่ปัญหาพวกนี้มักเกิดจาก 5 สาเหตุหลักๆ ซึ่งได้แก่ หัวพิมพ์เสีย เนื่องจากทำหล่น, แผ่นลายทองแดงที่หัวพิมพ์ขาด, หัวพิมพ์อุดตัน เพราะไม่ได้ใช้เครื่องนานเกินไป พิมพ์งานจนหมึกหมด แล้วยังฝืนพิมพ์ต่อจนท่อพ่นหมึกเสีย (Overheat) และน้ำหมึกในตลับหมด ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ด้านล่างของตลับ และเป็นตัวคั่นไม่ให้หมึกที่เติมลงไปไหลลงสู่หัวพิมพ์
วิธีแก้ปัญหา กรณีที่เกิดปัญหาเพราะหัวพิมพ์ตกหล่นหรือแผ่นทองแดงขาด นั่นหมายถึงตัวตลับจะเสียไปโดยปริยาย จึงไม่ควรนำตลับหมึกดังกล่าวมาใช้เติมอีกต่อไป วิธีทดสอบว่าแผ่นลายทองแดงขาด หรือไม่ให้นำตลับหมึกใส่เข้าไปในเครื่อง ถ้าหัวพิมพ์ไม่เคลื่อนที่ ก็แสดงว่าลายทองแดงเกิดการชำรุดเสียหาย
ส่วนในกรณีที่หัวพิมพ์อุดตันเพราะไม่ได้ใช้ เครื่องเป็นเวลานานๆ ให้แก้ไขด้วยการนำส่วนของหัวพิมพ์ไปแช่ในน้ำร้อนเป็นเวลา 3 – 5 นาที เพื่อให้น้ำหมึกที่แห้งละลายออกมา หรืออาจจะนำตลับหมึกไปล้างด้วยเครื่อง Ultrasonic Cleaning เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่อุดตันอยู่ในหัวพิมพ์
จากประสบการณ์เติมหมึกของผมเอง พบว่าปัญหาที่เจอบ่อยที่สุดมักเกิดจากกรณีที่ 5 คือน้ำหมึกหมด ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ตัวตลับ อย่างไรก็ตาม ผมได้พัฒนาเทคนิคการ “อัดอากาศ” ขึ้นมา โดยเทคนิคที่ว่านี้จะอาศัยการเพิ่มแรงดันอากาศเข้าไปในช่องเติมหมึก เพื่อให้แรงดันที่เพิ่มขึ้นนี้ไปดันน้ำหมึกที่เติมเข้าไปและไล่อากาศออกมา ทางหัวพิมพ์ เทคนิคนี้คุณผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตลับหมึกอิงก์เจ็ตได้ทุกรุ่น แต่เพื่อความรวบรัด เลยขอยกตัวอย่างเทคนิคการอัดอากาศสำหรับตลับหมึกรุ่นยอดนิยมของ HP ซึ่งได้แก่รุ่น C1823A, 6625A และ 6578A

ขั้นตอนการอัดอากาศ


  • ล้างหัวพิมพ์ โดยนำไปแช่น้ำร้อนเป็นเวลา 3- 5 นาที

  • เตรียมเข็มฉีดยา และแผ่นยางสำหรับปิดหัวพิมพ์ให้พร้อม (มีกาว และรูตรงกลาง)

  • ลอกกระดาษกาวออก แล้วนำแผ่นยางไปปิดที่ตลับหมึก โดยปิดให้รูแผ่นยางตรงกับรูของช่องเติมหมึก ดึงคันชักเข็มฉีดยาขึ้น แล้วเสียบลงในรูแผ่นยาง จากกนั้นค่อยๆ กดคันชักลงเพื่อเพิ่มแรงดันอากาศภายในตลับ น้ำหมึกจะค่อยๆ ไหลออกมาทางหัวพิมพ์ ในกรณีที่ไม่มีแผ่นยางปิดหัวพิมพ์เอาไว้ให้ดึงคนชักเข็มฉีดยาขึ้น แล้วนำไปจ่อตรงรูช่องเติมหมึก เมื่อค่อยกดคันชักลง น้ำหมึกก็จะเริ่มไหลออกมา



    <<...ล้างหัวพิมพ์ด้วยการแช่ในน้ำร้อนเป็นเวลา 3 – 5 นาทีแล้วซับด้วยกระดาษทิชชู ...<<

    เทคนิคการอัดอากาศสำหรับตลับหมึก Canon รุ่น BC-05, BC-01/02, BX-01/02


  • ล้างหัวพิมพ์ โดยนำส่วนของหัวพิมพ์แช่น้ำร้อน 3-5 นาที แล้วใช้กระดาษทิชชูเช็ดให้แห้ง

  • ใช้สกรูเจาะและหมุนเข้าไปในพลาสติกปิดรูช่องเติมหมึกแล้วดึงออกมา

  • เติมน้ำหมึกในช่องสีนั้นพอประมาณ

  • ดึงคันชักไซริงค์ขึ้น ก่อนเสียบเข้าไปในช่องเติมหมึก แล้วจึงค่อย ๆ กดคันชักลงเพื่ออัดอากาศเข้าไปในช่องเติมหมึกเพื่อเพิ่มแรงดันอากาศภายใน ตลับ น้ำหมึกจะค่อย ๆ ไหลออกมาทางหัวพิมพ์

    เทคนิคการอัดอากาศสำหรับตลับหมึก Canon รุ่น BC-20, BC-22C


  • ล้างหัวพิมพ์ โดยนำส่วนของหัวพิมพ์แช่น้ำร้อน 3-5 นาที แล้วใช้กระดาษทิชชูเช็ดให้แห้ง

  • ใช้สกรูเจาะและหมุนเข้าไปในพลาสติกปิดรูช่องเติมหมึกแล้วดึงออกมา

  • เติมหมึกในช่องตลับหมึกพอประมาณ

  • นำแผ่นยางปิดช่องเติมหมึก โดยลอกกระดาษกาวออกปิดให้รูแผ่นยางตรงกับรูของช่องเติมหมึกดึงคันชักไซริงค์ ขึ้น แล้วเสียบลงในรู แผ่นยาง ค่อย ๆ กดคันชักไซริงค์ลงเพื่อเพิ่มแรงดันอากาศภายในตลับน้ำหมึกจะค่อยๆ ไหลออกมาทางหัวพิมพ์



    >>... นำแผ่นยางมาประกบที่ช่องเติมหมึก แล้วใช้เข็มฉีดยาค่อยๆ อัดอากาศลงไปในช่องเติมหมึก ...>>

    เทคนิคการอัดอากาศสำหรับตลับหมึก HP รุ่น 51625A, 51649A


  • ล้างหัวพิมพ์ โดยนำส่วนของหัวพิมพ์แช่น้ำร้อน 3-5 นาที แล้วใช้กระดาษทิชชูเช็ดให้แห้ง

  • เปิดฝาตลับหมึกออก เติมน้ำหมึกในช่องสีนั้นพอประมาณ

  • ใช้สติ๊กเกอร์ปิดคาดรูเติมหมึก ซึ่งจะเห็นว่ามีทั้งหมด 3 รู ต่อช่องสี ให้ปิดคาด 2 รู คงเหลือไว้ 1 รู

  • ลอกกระดาษกาวออกจาก แผ่นยางปิดช่องเติมหมึก ปิดให้รูแผ่นยางตรงกับรูช่องเติมหมึก

  • ดึงคันชักไซริงค์ขึ้น แล้วเสียบลงในรู แผ่นยาง ค่อย ๆ กดคันชักไซริงค์ลงเพื่อเพิ่มแรงดันอากาศภายในตลับน้ำหมึกจะค่อยๆ ไหลออกมาทางหัวพิมพ์

    เทคนิคการอัดอากาศสำหรับตลับหมึก Canon รุ่น BC-03, BX-3


  • ล้างหัวพิมพ์ โดยนำส่วนของหัวพิมพ์แช่น้ำร้อน 3-5 นาที แล้วใช้กระดาษทิชชูเช็ดให้แห้ง

  • ใช้เหล็กรูปตัวแอล กดลูกเหล็กตรงช่องเติมหมึกให้หล่นเข้าไปในตลับ

  • เติมหมึกในช่องตลับหมึกพอประมาณ

  • ลอกกระดาษกาวของ แผ่นยางปิดช่องเติมหมึกออก ปิดให้รูแผ่นยางตรงกับรูช่องเติมหมึก

  • ดึงคันชักไซริงค์ขึ้น แล้วเสียบลงในรู แผ่นยาง ค่อย ๆ กดคันชักไซริงค์ลงเพื่อเพิ่มแรงดันอากาศภายใน ตลับน้ำหมึกจะค่อยๆ ไหลออกมาทางหัวพิมพ์

    หากสังเกตดูดีๆ จะเห็นว่า วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเติมหมึกสำหรับพรินเตอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ นั้น มีทั้งส่วนที่เหมือนและแตกต่างกัน ถึงแม้บทความชุดนี้จะไม่ได้ครอบคลุมตลับหมึกทุกรุ่นที่มีจำหน่ายอยู่ใน ปัจจุบัน

    แต่ถ้าคุณผู้อ่านสนใจ สามารถหาติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในพ็อกเก็ตบุ๊กเล่มล่าสุด “Inkjet PowerUP : เพิ่มพลังเติมหมึกยกกำลัง 2” ซึ่งได้รวบรวมเทคนิค การเติมหมึกสำหรับตลับหมึกแต่ละแบบเอาไว้อย่างครบถ้วนแล้ว

  •  http://www.arip.co.th/articles.php?id=405546

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น