การดูแลรักษาเครื่องพรินเตอร์
1. ควร จะสั่งพิมพ์งานอย่างน้อยอาทิตย์ละ ครั้งเพื่อให้เครื่องพรินเตอร์ได้ทำงานบ้าง หมั่นทำความสะอาดเครื่องพรินเตอร์ และหัวพิมพ์ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ต่อครั้งเพื่อกำจัดฝุ่นละอองและผงที่ตกอยู่ในเครื่องพรินเตอร์ เพราะจะทำให้งานพิมพ์ที่ได้คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร
2. ปัญหางานพิมพ์เสียเพราะเครื่องพรินเตอร์แบบนี้มักมีสาเหตุมาจากหมึกพิมพ์แห้งเป็นคราบติดอยู่ภายในหัวพิมพ์หรือภายในท่อฉีดน้ำหมึก (Nozzle) แล้ว จึงกลายเป็นเหมือนตัวสกัดกั้นไม่ให้น้ำหมึกไปสัมผัสกับกระดาษ การให้พรินเตอร์พิมพ์งานที่ใช้หมึกสีและหมึกดำทุกๆ สัปดาห์เป็นอย่างน้อยจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
คำแนะนำ คือ ควรเปิดเครื่องพรินเตอร์สัก 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เพื่อให้หัวพรินเตอร์ตรวจสอบความพร้อมของหมึกพรินเตอร์ หัวพรินเตอร์จะฉีดหมึกใหม่เข้าไปไล่หมึกเก่าเพื่อป้องกันการอุดตันของหมึก และควรทดสอบการพิมพ์ อย่างน้อยเดือน 1-2 ครั้ง เพื่อให้งานพิมพ์ออกมาดีอยู่เสมอ
*** สำหรับ EPSON ไม่ควรสั่งล้างทำความสะอาดหัวพิมพ์ติดต่อกันหลายๆครั้ง ให้สั่งล้างเพียง 1-2 ครั้ง กรณีผลทดสอบการพิมพ์ (Nozzle Check) ยังไม่ปกติ ให้ปิดเครื่องพิมพ์พักไว้ประมาณ 20-30 นาที แล้วจึงเปิดเครื่องและทดสอบการพิมพ์ใหม่อีกครั้ง หากพบว่ายังมีสีอุดตัน ให้ปิดเครื่องทิ้งไว้ต่ออีก การ สั่งทำความสะอาดหัวพิมพ์ติดต่อกันหลายๆครั้งไม่เป็นผลดีต่อหัวพิมพ์ และทำให้หมึกไหลย้อนกลับซึ่งทำให้เกิดปัญหากับหัวพิมพ์และมีสีเลอะเทอะ
3. หมั่นกำจัดเศษกระดาษและเศษฝุ่นผง การทำความสะอาดด้วยการเป่าเศษผงและฝุ่นออกด้วยเครื่องเป่าลมธรรมดาๆ (ย้ำว่าเครื่องเป่าลม...หาใช่เครื่องเป่าผมแต่อย่างใด) จะช่วยให้เครื่องพรินเตอร์ของเราสามารถป้อนกระดาษได้อย่างไม่ติดขัดเพราะ Roller ของมันสะอาดปราศจากสิ่งสกปรกนั่นเอง
4. การทำความสะอาด Roller ที่ ใช้ดึงกระดาษ ควรนำกระดาษหนาๆ หรือกระดาษที่สามารถซับน้ำได้ดีแล้วฉีดผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสม ของแอมโมเนียให้หมาดๆ จากนั้นก็ป้อนเข้าไปในพรินเตอร์ซ้ำๆ ประมาณ 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นก็ป้อนกระดาษธรรมดาเข้าไป เพื่อซับให้แห้ง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยล้างคราบหมึกและสิ่งสกปรกที่ติอยู่บนลูกกลิ้งกระดาษ ได้แล้ว
5. ควรปิด-เปิดเครื่องพิมพ์ด้วยสวิตซ์ ดีกว่าถอดปลั๊กไฟ การปิด-เปิด เครื่องพิมพ์ควรทำที่สวิตซ์ของเครื่องเสมอ เพราะ เครื่องพิมพ์จะเก็บและทำความสะอาดหัวหมึกหลังจากกดสวิตซ์ปิดที่ตัวเครื่อง ไม่ควรใช้ถอดปลั๊กหรือปิดสวิตซ์ปลั๊กไฟเนื่องจากจะทำให้เครื่องพิมพ์เสีย เร็วขึ้น
6. หมั่นอัพเดทไดรเวอร์และซอฟต์แวร์ของเครื่องพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ เพราะซอฟต์แวร์ (รวม ไปถึงไดรเวอร์) ใหม่ๆ จะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเวอร์ชันก่อนๆ และในบางครั้งก็มีฟีเจอร์ใหม่ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอีกด้วย
7. ไม่ควรนำหมึกต่างยี่ห้อมาเติม แน่นอนว่าถึงจะพรินต์ได้ก็จริง แต่จะทำให้ตลับหมึกอุดตันได้รวดเร็วขึ้น แถมหมึกเติมที่ไม่ได้คุณภาพอาจทำให้หัวพิมพ์เสียหายได้อีกด้วย
8. ควรเปลี่ยนน้ำหมึก เมื่อมันเตือนว่าหมดหลายคนยังฝืนที่จะพิมพ์ต่อถึงแม้ว่าไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์จะขึ้นเตือนว่าหมึกหมดแล้วก็ตาม อย่างเช่น ในกรณีที่หมึกสีหมดแต่ก็ยังจะฝืนพิมพ์งานขาว-ดำ ต่อ เพราะคิดว่าหมึกดำยังเหลือ ไม่ได้ใช้หมึกสีก็ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ในความเป็นจริงถึงแม้ว่าหมึกพิมพ์สีจะไม่ได้ใช้ แต่ความร้อนที่หัวพิมพ์ก็ยังคงมีอยู่ ยิ่งเมื่อเราฝืนพิมพ์จะทำให้ความร้อนที่หัวพิมพ์เพิ่มมากขึ้น เพราะ ไม่มีน้ำหมึกมาหล่อเลี้ยง ซึ่งอาจมีผลให้เครื่องพิมพ์เสียหายได้ สำหรับเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตรุ่นใหม่ๆ จะป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ฝืนพิมพ์ต่อเมื่อหมึกสีใด สีหนึ่งหมด ด้วยการไม่รับงานพิมพ์ใดๆ ทั้งสิ้น จนกว่าจะเปลี่ยนหมึกตลับใหม
ขอบคุณบทความจาก : คานาอัน สแตมป์เปอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น